วันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกรำลึกถึงเหตุการณ์หนึ่งในบรรดายุคมืดของประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ ที่ตกเป็นเหยื่อของการสังหารอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเป้าหมายคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหกล้านคนและผู้บริสุทธิ์อีกห้าล้านคน
แม้ว่าเหตุการณ์อันทารุณโหดร้ายนี้จะผ่านมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีความเกลียดชัง การมีอคติ การทำทารุณและเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตจึงเป็นเครื่องเตือนสติให้ทุกๆ คนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันมิให้เหตุการณ์ชั่วร้ายนี้เกิดซ้ำอีก
รายละเอียดของพิธีมีดังนี้
การกล่าวสุนทรพจน์เปิดพิธีโดย ฯพณฯ นายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย
- ช่วงเวลาสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัย
- จุดเทียนเล่มแรกเพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้จากไปในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
นายฮองจู ฮาม รองเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิค (เอสแคป) นำเสนอสารจากนายอันโตนิโอ กุเตอเรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
- จุดเทียนเล่มที่สอง
เพลงจากภาพยนตร์เรื่อง Schindler's List ชะตากรรมที่โลกไม่ลืม บรรเลงโดยนักศึกษาคณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
-นายรพีพัฒน์ มัญยานนท์ เชลโล
-นายพิศลย์ โพนทองถิ่น คาริเนต
-นายทศพล สมรูปดี เปียโน
การกล่าวสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ นาย เพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย
- จุดเทียนเล่มที่สาม
สารของ ฯพณฯ ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำเสนอโดย นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- จุดเทียนเล่มที่สี่
เพลง Adagio from Mozart's Clarinet Concerto บรรเลงโดยนักศึกษาคณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดี มหาวิทยาศิลปากร
- จุดเทียนเล่มที่ห้า
การกล่าวสุนทรพจน์โดยนายณัฐพล เมอริดิธ นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ในนามของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
- จุดเทียนเล่มที่หก
เพลง Nocturne in C# minor by Chopin จากภาพยนตร์เรื่อง The Pianist สงคราม ความหวัง บัลลังก์เกียรติยศ บรรเลงโดยนักศึกษาคณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ภาพยนตร์ข่าวสั้นของสำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น เกี่ยวกับนายเอลี วีเซิล ชาวโรมาเนียผู้รอดชีวิตจากค่ายเอาท์ชวิตซ์ ที่กลายมาเป็นนักเขียนโด่งดัง เจ้าของงานเขียนทรงคุณค่า “คืนดับ” (Night) และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เอลี วีเซิลเสียชีวิตเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ด้วยวัย 87 ปี