ประเทศอิสราเอลได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ASC หรือ Asian Science Camp ในปลายเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2555 นี้ การจัดกิจกรรมที่มีความสำคัญระดับโลกนี้นับเป็นการสร้างโอกาสในการรวบรวมนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน และเพื่อส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ตัวแทนประเทศต่างๆจากทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิค โดยที่ผ่านมาโครงการ ASC ได้รับการจัดขึ้นมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่งในแต่ละปีประเทศต่างๆในเอเชียจะผลัดกันทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ค่ายวิทยาศาสตร์ หรือ ชุมนุมของเหล่าอัจฉริยะนี้เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลกลุ่มหนึ่งจากฝากเอเชียตะวันออก ที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้กิจกรรมนี้เป็นเวทีเพื่อการทำความรู้จักและส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่จากทวีปเอเชีย และเพื่อสร้างเครือข่ายที่อยู่นอกเหนือเชื้อชาติ และพรหมแดน ผ่านทางภาษาสากลของวิทยาศาสตร์
การดำเนินกิจกรรมนี้ รวมทั้งงานอื่นๆที่มีการร่วมมือกับประเทศในทวีปเอเชียที่เกิดขึ้นในอิสราเอลปีนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญสำหรับกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล ซึ่งมุ่งแสดงถึง "ปีสำคัญแห่งเอเชียในอิสราเอล" หรือ "Asia's Year in Israel" คือ เป็นปีที่ประเทศอิสราเอลมีการครบรอบการสถานปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลากหลายประเทศในเอเชีย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน - 20 ปี สาธารณรัฐอินเดีย - 20 ปี สาธารณรัฐเกาหลีใต้ - 40 ปี และประเทศญี่ปุ่น 60 ปี
ค่ายวิทยาศาสตร์นี้จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเล็ม ร่วมกับเครือข่าย ORT โดยงานจะมีขึ้น ณ กรุงเยรูซาเล็มในช่วงอาทิตย์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม กิจกรรมส่วนใหญ่จะดำเนินภายในมหาวิทยาลัยฮีบรู วิทยาเขต Edmund J. Safra นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมจะได้รับมอบความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์จากหลากหลายแขนงตั้งแต่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั้งจากอิสราเอลและทั่วโลก นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมจะได้สำรวจกับนวัตกรรมและภูมิปัญญาของอิสราเอลอีกด้วย
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดกว่า 300 คน ที่มีอายุระหว่าง 17 - 21 ปี ตัวแทนจาก 20 ประเทศทั่วภาคพื้นทวีปเอเชียแปซิฟิค จะเดินทางมายังประเทศอิสราเอลพร้อมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะ ระหว่างกิจกรรม นักเรียนนักศึกษาจะได้รับฟังการบรรยายโดย นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลทั้ง 5 ท่าน ได้แก่
- ศาสตราจารย์ลี หยวน ตี จากไต้หวัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์เคมี หนึ่งในผู้ร่วมริเริ่ม Asian Science Camp นี้
- ศาสตราจารย์มาโกโตะ โคบายาชิ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ และประธาณคณะกรรมการที่ปรึกษา ASC นอกจากนั้น
- ศาสตราจารย์อฮารอน เชชาโนเวอร์ จากสถาบันเทคเนียนแห่งอิสราเอล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวิทยาศาสตร์เคมีเพื่อการแพทย์
- ศาสตราจารย์อิสราเอล อูมานน์ จากมหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเล็ม นักวิจัยทฤษฎีเกมส์ (Game Theory) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
- ศาสตราจารย์โรเจอร์ คอร์นเบิร์ก นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน-ยิว ผู้ได้รับรางวัลโนเบลจากสาขาชีววิทยา
นอกจากนี้ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดจะได้รับฟังคำบรรยายจากนักวิทยาศาตร์สำคัญระดับโลกท่านอื่นๆของอิสราเอลอีก 30 ท่าน ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนนักวิจัยจากหลากหลายสาขาที่เคยได้รับรางวัลสำคัญมาแล้ว เช่น รางวัลวูฟฟ์ (Wolf Prize)
สำหรับประเทศไทยนั้นได้ส่งตัวแทนนักวิทยาศาสตร์เยาวชนจำนวน 10 คนจากสถาบันต่างๆ อาทิ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาอีก 2 ท่าน
หมายเลข 1. นายปิยะฤทธิ์ อิทธิชัยวงศ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์หมายเลข 2. นายฆนัท จันทรทองดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเลข 3. นายกฤตานน ศิโรรัตนกุล โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
หมายเลข 4. นางสาวณัฐชญา สุคนธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเลข 5. นายฐานสพล จริยเศรษฐวงศ์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
หมายเลข 6. นายปภพ สวัสดี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
หมายเลข 7. นายกิตติวัฒน์ กำลังเสือ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเลข 8. นายพงศธร บุญรอด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมายเลข 9. นายศิรสิทธิ์ สุชาติลิขิตวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเลข 10. นายเคน อิเกดะ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเลข 11. ดร. ไพบูลย์ ศรีอรุโณทัย อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยีเคมีชีวภาพ
(BCET) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ผู้คุมทีม)
และ
ศ.ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อาจารย์ผู้สังเกตการณ์)