งานรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว2563
-
-
1/28/2020
-
-
GovXContentSection
วันนี้ (28 ม.ค.) สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ยูเอ็นเอสแคป) จัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากลขององค์การสหประชาชาติ และใรวาระครบรอบ 75 ปีของการปล่อยปล่อยนักโทษแห่งเอาชวิทซ์และการจากไปของเธอ แอนน์ แฟรงค์ ณ อาคารศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ได้แก่ทูตานุทูตต่างประเทศ แขกผู้มีเกียรติชาวไทย นักวิชาการ และ นักเรียนนักศึกษา
พิธีเริ่มด้วยการจุดเทียนรำลึกถึงเหยื่อหกล้านคนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยบุตรหลานหกคนของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ ตามด้วยการกล่าวสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ ดร. เมเอียร์ ชโลโม เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติท่านอื่นที่กล่าวสุนทรพจน์ได้แก่ นางพรพิมล กาญจนลักษณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฯพณฯ นายเกออร์ค ชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย นายชิฮิโร ซึกิฮาระ หลานปู่ของ นายชิอูเนะ ซึกิฮารา นักการทูตชาวญี่ปุ่นผู้ช่วยชีวิตชาวยิวในลิทัวเนีย และนายโธมัส ฟัน เลียเว่น อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการกล่าวสุนทรพจน์ผ่านทางวิดิทัศน์ของนายอันโตนิโอ กูแตเรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และบทเพลง “A Walk To Caesarea” และ “Avine Malkenu” ขับร้องโดยนางสาวโมนิก คล่องตรวจโรค นักร้องโอเปร่าชื่อดัง
แม้ว่าโฮโลคอสต์จะผ่านมากว่า 70 ปีและมีการจัดพิธีรำลึกเป็นประจำทุกปีทั่วโลก แต่ในปัจจุบันยังมีความเกลียดชัง การกระทำทารุณและเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้นพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตจึงเป็นเสมือนคำมั่นสัญญาที่จะกระทำการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์อันโหดเหี้ยมนี้เกิดซ้ำอีก
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-