ศ.อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล
-
-
10/17/2012
GovXShortDescription
ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ (Professor Aaron J. Ciechanover) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลชาวอิสราเอล
-
-
Aaron-Ciechanover
:
|
-
-
-
-
-
-
GovXParagraph1
ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ชาวอิสราเอล มีกำหนดเดินทางเพื่อเข้ารับมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ ในสาขาวิชาเคมี ในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2555 ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ จะมีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "The Revolution of Personalized Medicine – Are we going to cure all diseases and at what price???" โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เชิญชวนบุคลากรและนักศึกาษาเข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษในโอกาสสำคัญนี้ด้วย
-
-
GovXParagraph2
ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ (Professor Aaron J. Ciechanover) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2490 (1947) ณ เมืองไฮฟา อิสราเอล ด้านการศึกษา ท่านสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2514 (1971) สำเร็จการศึกษาด้านแพทยศาสตร์จาก Hadassah Medical School ในกรุงเยรูซาเลม ในปี พ.ศ. 2517 (1974และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเคมีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2525 (1982) จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งอิสราเอล(the Israel Institute of Technology) หรือที่รู้จักในชื่อ “The Technion” ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองไฮฟา
ปัจจุบัน ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ (Professor Aaron J. Ciechanover) ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยในสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์รูธและบรูซ แรพพาพอร์ต(the Ruth and Bruce Rappaport Faculty of Medicine and Research Institute) สถาบันเทคโนโลยีแห่งอิสราเอล และเป็นสมาชิกของ ๒ องค์กร คือ The Israel Academy of Science and Humanities และ The Pontifical Academy of Sciences ตลอดจนได้รับคัดเลือกให้เป็นภาคีสมาชิกต่างชาติของThe United States National Academy of Sciences(NAS)
ในปี พ.ศ. 2543 (2000) ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ ได้รับรางวัล Albert Lasker Award สาขาการวิจัยพื้นฐานทางการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2546 (2003) ได้รับรางวัล The Israel Prize สาขาชีววิทยา ในวันที่ 6 ตุลาคม 2547 (2004) ราชบัณฑิตยสถานแห่งราชอาณาจักรสวีเดนประกาศให้ท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี สำหรับผลงานที่มีร่วมกับอาวาร์ม เฮิร์ชโก (Avram Hershko) และ เออร์วิน โรส (Irwin Rose) ในเรื่องโปรตีนที่เป็นตัวสั่งการในกระบวนการทำลาย/ย่อยสลายของโปรตีนในเซลล์ โมเลกุลของโปรตีนUbiquitinฺ(ubiquitin-proteasome) มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะธำรงดุลของเซลล์(การรักษาสมดุลของการทำงานภายในเซลล์ให้เหมาะสม) และเชื่อว่าโปรตีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเซลล์ไปสู่การเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น มะเร็ง โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกัน และการอักเสบอันเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนอง เป็นต้น
ศาสตราจารย์อารอน เจ. ชีชาโนเวอร์ และผู้ร่วมงานวิจัยทั้งสองท่านช่วยให้เข้าใจถึงการทำหน้าที่ของเซลล์ในการเป็นตัวตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจสอบโปรตีนที่มีการสร้างและทำลายในอัตรารวดเร็ว การทำลายของโปรตีนสามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการที่มีการควบคุมในรายละเอียด เพื่อให้โปรตีนแตกตัวเป็นโมเลกุล ซึ่งจะมีโมเลกุลที่เรียกว่าฉลากโปรตีน(Protein Labelled ) อีกชนิดหนึ่งเข้ามาทำงานก่อนที่จะมีการทำลาย หรือย่อยสลายโมเลกุลโปรตีนดังกล่าว “จุมพิตมรณะ” (kiss of death)เป็นโปรตีนที่ติดฉลากตัวนั้น ซึ่งเป็นกระบวนการทำลายโปรตีนที่เสื่อมสภาพในร่างกายของเราที่ต้องถูกทำเครื่องหมายไว้ก่อน ซึ่งขบวนการของโมเลกุลโปรตีนก่อนถูกทำลายจะมีฉลากโปรตีน(Protein Labelled )อีกชนิดหนึ่งเข้ามาทำงานก่อนที่จะมีการทำลายหรือย่อยสลายโมเลกุลโปรตีนดังกล่าว โมเลกุลชนิดนี้ถูกเรียกว่า “waste disposers” หรือตัวสั่งการให้โปรตีนเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการการถูกทำลายโดยเรียกโมเลกุลนี้ว่า “Proteasomes” ซึ่งเป็นโมเลกุลตัวสั่งทำลายโดยตัดให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ ปกติ “Proteasomes” มักจะทำงานร่วมกับสัญญานทางชีวเคมีอีกตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า Ubiquitin ซึ่งจะเป็นตัวพา protein( Ubiquitin-mediate Protein )ไปสู่ “Proteasomes” ที่ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการทำลายหรือการย่อยสลายเกิดขึ้น และจากนั้นตัวมันเอง (Ubiquitin)หลังจากส่งเสร็จก็จะแยกออกจากโปรตีนดังกล่าวและมีการวนกลับมาใช้ใหม่ในเซลล์อีก
ผลงานของศาสตราจารย์อารอน ชิชาโนเวอร์ช่วยให้เข้าใจในระดับโมเลกุลว่าเซลล์ควบคุมศูนย์กลางการทำงานโดยการเลือกตัดแบ่งเอาโปรตีนเฉพาะตัว ตัวอย่างของกระบวนการควบคุมโดยโปรตีนตัวกลางยูบิควิติน(ubiquitin-mediated protein) ของการทำลาย ได้แก่ การแบ่งเซลล์ออกเป็นส่วนๆ การซ่อมแซมDNA การควบคุมคุณภาพของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ และส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อระบบทำลายทำงานไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดการป่วย ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูกและโรคซีสติกไฟโบรซีส (โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลส่วนมากต่อระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร) ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัยนี้จะเป็นโอกาสในการพัฒนายาที่จะช่วยรักษาโรคและเรื่องอื่นๆ ได้
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-