2016 UN International Holocaust Memorial Day

วันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล

  • icon_zoom.png
    2016 UN International Holocaust Memorial Day 2016 UN International Holocaust Memorial Day
     
     
    สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทยร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก   (เอสแคป) จัดงานวันรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากลขององค์การสหประชาชาติประจำปีนี้  ในวันพุธที่ 27 มกราคม .. 2559 ณ ศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติ
     
    วันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกรำลึกถึงเหตุการณ์หนึ่งในบรรดายุคมืดของประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ ที่ตกเป็นเหยื่อของการสังหารอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีเป้าหมายคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวหกล้านคนและผู้บริสุทธิ์อีกห้าล้านคน
     
    สำหรับปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์”
     
    แม้ว่าเหตุการณ์อันทารุณโหดร้ายนี้จะผ่านมากว่า 70 ปีแล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีความเกลียดชัง การมีอคติ การทำทารุณและเหตุการณ์อันน่าสะพรึงกลัวเกิดขึ้นทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอดีตจึงเป็นเครื่องเตือนสติให้ทุกๆ คนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันมิให้เหตุการณ์ชั่วร้ายนี้เกิดซ้ำอีก
     
    รายละเอียดของพิธีมีดังนี้
     
    ชมนิทรรศการ  “ความกล้าหาญที่พึงจดจำ” จากพิพิธภัณฑ์ Tolerance นครลอส แองเจลิส นิทรรศการนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมา พร้อมหลักฐานรูปภาพสำคัญที่หายากต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไปจนถึงนาทีแห่งการปลดปล่อยเชลยชาวยิวในค่ายเอาซ์วิทซ์-เบอร์เคอเนา นิทรรศการนี้ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการเพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อชีวิตของผู้อื่น ความเกลียดชัง และการไม่ยับยั้งชั่งใจ รวมถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงที่เกิดตามมา
     

    นิทรรศการ ความกล้าหาญที่พึงจดจำ” จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ไซมอน วีเซ็นธัล นครลอส แองเจลิส
     
    การกล่าวสุนทรพจน์เปิดพิธีโดย ฯพณฯ นายชีมอน โรเด็ด เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย
    ช่วงเวลาสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัย
    จุดเทียนเล่มแรกเพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้จากไปในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   
     
    การกล่าวแนะนำสารของ นายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ  โดย คุณลอรา โลเปซ รักษาการเลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก
    จุดเทียนเล่มที่สอง
     
    การกล่าวสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ  นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
    จุดเทียนเล่มที่สาม
     
    การกล่าวสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ นาย เพเทอร์ พรือเกล  เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย
    -  จุดเทียนเล่มที่สี่
     
    การกล่าวสุนทรพจน์โดยนายโซเจี๊ยต เนียน ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารมวลชน ณ สถาบันสลัก เริต   ราชอาณาจักรกัมพูชา
    จุดเทียนเล่มที่ห้า
     
    การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับนายชิอูเนะ ซูกิฮารานักการทูตชาวญี่ปุ่น โดยนายชิฮิโร ซูกิฮารา ผู้เป็นหลานปู่
    นายชิอูเนะ ซูกิฮารา รองกงสุลชาวญี่ปุ่นประจำเมืองคอนัส ประเทศลิทัวเนีย ตั้งแต่พ.ศ. 2482 – 2483 เขาได้นำหน้าที่การงาน อนาคตและความปลอดภัยของครอบครัวตนเองมาเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิตชาวยิวมากกว่า 6,000 คน โดยการออกวีซาผ่านทาง (Transit  Visa) ให้ผู้ที่ต้องการอพยพออกนอกประเทศ นายชิอูเนะยังคงปฏิบัติหน้าที่ออกวีซาและประทับตราหนังสือเดินทางในสถานีรถไฟในขณะที่เขาเองก็กำลังเดินทางออกจากลิทัวเนีย พฤติกรรมที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของนายชิอูเนะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือชาวยิวจำนวนมากเป็นอันดับสองในระหว่างการกวาดล้างของนาซี
     
    เมื่อพ.ศ.  2527 นายชิอูเนะ ซูกิฮาราเป็นหนึ่งในชาวเอเชียสองคนที่ได้รับมอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดจากประเทศอิสราเอลโดย ยาด วาเชม องค์กรเพื่อการรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว  ทุกวันนี้ประมาณได้ว่ามีทายาทของผู้รอดชีวิตทั้งหมดกว่า 80,000 คน
    ที่เป็นหนี้ชีวิตนายชิอูเนะ
    จุดเทียนเล่มที่หก
      
    การฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับแอนน์ แฟรงค์
    แอนน์ แฟรงค์ เด็กหญิงชาวยิว เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะผู้เขียนบันทึกประจำวันซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือหลายภาษา บรรยายเหตุการณ์ขณะหลบซ่อนตัวจากการล่าชาวยิวในประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่ถูกเยอรมนีเข้าครอบครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเธอถูกนาซีจับเข้าค่ายกักกันเมื่อพ.ศ. 2487 แอนน์ แฟรงค์ เสียชีวิตด้วยโรคไข้รากสาดใหญ่ ในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซินประมาณ        เดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม พ.ศ. 2488 ก่อนการปลดปล่อยค่ายกักกันในเดือนเมษายน พ.ศ. 2488
     

    บันทึกของเธอแสดงให้เห็นชีวิตประจำวันที่แท้จริงภายใต้อำนาจของพวกนาซี เป็นการพรรณนาถึงเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โด่งดังที่สุด แอนน์ แฟรงค์ ได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเกียรติภูมิของมนุษย์