วันระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากล
-
-
1/25/2013
GovXShortDescription
วันที่ 27 มกราคม คือวันครบรอบการปลดปล่อยค่ายเชลย เอาซ์วิทช์-เบอร์เคอเนา (Auschwitz-Birkenau) ซึ่งได้รับการประกาศโดยองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2548 ให้เป็นวันระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากล เพื่อเป็นการรำลึกถึง และเป็นเกียรติแก่เหยื่อจากเหตุการณ์ดังกล่าว
วันระลึกถึงเหยื่อจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวสากล ประจำปี พ.ศ. 2556 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "การช่วยเหลือกันในช่วงเวลาที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ความกล้าหาญในการใส่ใจเพื่อนมนุษย์" ("Rescue during the Holocaust: The Courage to Care")
-
-
GovXContentSection
ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2488 กองทัพจากโซเวียตได้เข้ายึดและปลดปล่อยเชลยสงครามใน เอาซ์วิทช์-เบอร์เคอเนา ( Auschwitz-Birkenau extermination camp) ซึ่งนับได้ว่าเป็นการค้นพบศูนย์กลางการสังหารมนุษย์ของนาซีที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ทำให้ต่อมา เอาซ์วิทช์-เบอร์เคอเนา ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เป็นตัวแทนของความทารุณโหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
-
-
-
-
-
-
GovXParagraph1
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2548 สหประชาชาติได้ลงมติให้วันที่ 27 มกราคมของทุกปีเป็นวันระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล เพื่อเป็นการรำลึกถึง และเป็นเกียรติแก่เหยื่อจากเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนั้นองค์การสหประชาชาติยังได้กระตุ้นให้เหล่าชาติสมาชิกพัฒนาโครงการการศึกษา ที่ปลูกฝังความทรงจำของโศกนาฏกรรมนี้ เพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชนคนรุ่นใหม่ โดยมีรัฐบาลจาก 18 ประเทศ ตกลงให้วันที่ 27 มกราคมของทุกปีเป็นวันระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล ซึ่งในวันดังกล่าวจะมีการจัดพิธีรำลึกขึ้น ณ หน่วยงานทั้งในระดับนานาชาติ ประเทศ และภูมิภาค รวมทั้งในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ
วันระลึกถึงเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ประจำปี พ.ศ. 2556 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "การช่วยเหลือกันในช่วงเวลาที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ความกล้าหาญในการใส่ใจเพื่อนมนุษย์" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือชาวยิวและผู้อื่น จากสถานการณ์เฉียดตายภายใต้การปกครองของนาซี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป
-
-
GovXParagraph2
กิจกรรมที่จะมีขึ้น ณ อาคาร ศูนย์การประชุมองค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก:
4-8 กุมภาพันธ์ – การแสดงนิทรรศการ "ความกล้าหาญที่จะจดจำ" ("Courage to Remember")
นิทรรศการนี้เล่าเรื่องราว และความเป็นมา พร้อมหลักฐานรูปภาพสำคัญที่หายากต่างๆ ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปจนถึงนาทีแห่งการปลดปล่อยเชลยชาวยิวในเอาซ์วิทช์-เบอร์เคอเนา นิทรรศการนี้ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการเพิกเฉยไม่ใส่ใจต่อชีวิตของผู้อื่น ความเกลียดชัง และการไม่ยับยั้งชั่งใจ รวมถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงที่เกิดตามมา
นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดยสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ด้วยการสนับสนุนจากศูนย์ไซมอน วีเซ็นธัล
การฉายภาพยนตร์สารคดีถ่ายทอดเรื่องราวของนายชิอูเนะ ซูกิฮารา นักการทูตแห่งมนุษยธรรมชาวญี่ปุ่นผู้กล้าหาญ พร้อมด้วยแขกผู้บรรยายพิเศษ นายชิฮิโร ซูกิฮารา หลานชายของนายชิอูเนะ
นายชิอูเนะ ซูกิฮารา เป็นรองกงสุลประจำเมืองคอนัส ประเทศลิทัวเนีย ตั้งแต่ พ.ศ.2482 – 2483 เขาได้นำหน้าที่การงาน อนาคต และความปลอดภัยของครอบครัวตนเองมาเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิตชาวยิวมากกว่า 6,000 คน โดยการออกวีซาผ่านทาง (Transit Visa) ให้ผู้ที่ต้องการอพยพออกนอกประเทศ นายชิอูเนะยังคงออกวีซาและประทับตราหนังสือเดินทางในสถานีรถไฟในขณะที่เขาเองก็กำลังเดินทางออกจากลิทัวเนีย พฤติกรรมที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของนายชิอูเนะส่งผลให้เกิดการช่วยเหลือชาวยิวจำนวนมากเป็นอันดับสองในระหว่างการกวาดล้างของนาซี
นายชิอูเนะ ซูกิฮาราเป็นหนึ่งในชาวเอเชียสองคนที่ได้รับมอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดจากประเทศอิสราเอลโดย ยาด วาเชม องค์กรเพื่อการรำลึกถึงเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทุกวันนี้ประมาณได้ว่ามีทายาทของผู้รอดชีวิตทั้งหมดกว่า 80,000 คน ที่เป็นหนี้ชีวิตนายชิอูเนะ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-